-
ผมเห็นด้วยกับแนวความคิดของท่านครับ
แต่มีคำถามว่า แล้วใครจะลงมือทำ ในสิ่งที่ท่านได้เสนอแนะมานั้น
ระบบการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ปัจจุบัน ไม่มีหน่วยงานที่มีความพร้อมหรือเต็มใจดำเนินการเหมือนดังเช่น ข้าราชการพลเรือนที่มี สำนักงานข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็มีสำนักงานที่รับผิดชอบโดยตรง สำนักงานเหล่านี้ ล้วนมีเลขาธิการ ซึ่งเทียบได้กับข้าราชการระดับ ๑๑ และระดับ ๑๐ เมื่อหันกลับมามองข้าราชการส่วนท้องถิ่นของพวเรา มีผู้อำนวยการสำนัก ข้าราชการระดับ 9 ซึ่งต้องขึ้นตรงกับรองอธิบดีกรมส่งเสริมฯ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 9 เช่นเดียวกัน และยังต้องผ่านอธิบดีกรมส่งเสริมฯ ข้าราชการระดับ 10 กว่าจะขึ้นไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจคือ รัฐมนตรีช่วยว่าการ หรือรัฐมนตรีว่าการ หลายชั้นหลายขั้นตอน ไม่เหมือน ก.พ. หรือ ก.ค. ชั้นเดียวถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ทันที
ไม่มีใครหรอกครับที่จะทำเรื่องพวกนี้ให้เราอย่างจริงใจ ทำไปก็สักแต่ว่าทำตามหน้าที่ไปวัน ๆ เพราะเขาไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับพวกเรา พวกเราได้โบนัสแต่พวกเขาไม่ได้ พวกเราได้ปรับอัตราเงินเดือนใหม่พวกเขาไม่ได้ เป็นสัจจธรรมที่อัปลักษณ์ของระบบการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นไทย ที่เป็นเช่นนี้
วันที่ 22 สิงหาคม 2555 นี้ จะเป็นวันเริ่มต้นของการต่อสู้รอบใหม่ ในการผลักดันให้เกิดองค์กรที่เหมือนหรือคล้ายหรือใกล้เคียงกับ สำนักงานข้าราชการพลเรือน ผมไม่อยากฝันไปไกลถึงกับให้องค์กรการบริหารงานบุคคลของพวกเรา เป็นองค์กรอิสระดังเช่นที่มีการนำเสนอในหลายเวทีในขณะนี้ แต่ขอให้ได้เท่าเทียมกับข้าราชการพลเรือน ผมว่าพวกเราก็พอใจแล้ว ณ วันนี้ครับ.
(หมายเหตุ.- 22 สิงหาคม นี้ เวลา 15.00 น. สมาคมข้าราชการและพนักงานจ้างท้องถิ่นแห่งประเทศไทย จะนำคำร้องขอเสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.... เสนอต่อประธานรัฐสภา พร้อมรายชื่อที่มีพวกเราเสียสละได้มา 10,600 กว่ารายชื่อ เป็นร่างฉบับแรกของรัฐบาลชุดนี้ เพื่อเป็นจุดเร่ิมต้นต่อไป ใครว่างก็ไปร่วมกันที่รัฐสภาครับ)
ป.พิพัฒน์